สงเคราะห์โลงศพฟรี สงเคราะห์เผาศพฟรี สงเคราะห์ลอยอังคารฟรี แก่ผู้ยากไร้ไร้ญาติ


พุทธวจนะในธรรมบท

พุทธวจนะในธรรมบท

อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก : แปล

(เฉพาะที่เกี่ยวกับศีล)

กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า ของหอมเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา ดอกอุบล และกะลำพัก

จนฺทนํ ตครํ วาปิ อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี
เอเตสํ คนฺธชาตานํ สีลคนฺโธ อนุตฺตโร
...

ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล รู้จักบังคับตนเอง และมีสัจจะ
นั่นแหละควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ
...

ศีลให้เกิดความสุข ตราบเท่าชรา
ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว ให้เกิดความสุข
ปัญญาได้มาแล้ว ให้เกิดความสุข
การไม่ทำบาปทั้งหลาย ให้เกิดความสุข

สุขํ ยาว ชรา สีลํ สุขา สทฺธาปติฏฐิตา
สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ ปาปานํ อกรณํ สุขํ
...

คนทุศีล ไม่สำรวม กลืนก้อนเหล็กแดง
ที่ร้อน ลุกเป็นไฟ ยังดีเสียกว่าบริโภคบิณฑบาตของชาวบ้าน

เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต ตตฺโต อคฺคิสิขูปโม
ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล รฏฺฐปิณฺฑํ อสญฺญโต
...

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศและโภคทรัพย์
ไปประเทศใดๆ ย่อมได้รับความนับถือในประเทศนั้นๆ

สทฺโธ สีเลย สมฺปนฺโน ยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต
...

ไม่ควรทำชั่ว เพราะเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่คนอื่น
ไม่ควรปรารถนาบุตร ทรัพย์ รัฐ หรือความสำเร็จแก่ตนโดยทางที่ไม่ชอบธรรม
ควรมีศีล มีปัญญา มั่นอยู่ในธรรม

น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐํ
น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน
ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยา
...

ผู้มีศีล มีสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปีของคนทุศีล ไร้สมาธิ

โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน
...

คนทุศีล ก็เหมือนกับต้นไม้ ที่เถาวัลย์ขึ้นจนรก
เขาทำตัวให้วอดวายเอง มิจำต้องรอให้ศัตรูมาคอยกระทำให้

ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลยํ มาลุวา สาวมิโวตฺถตํ
กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส
...

เมื่อรู้ความจริงข้อนี้แล้ว คนฉลาดผู้สำรวมในศีลไม่ควรชักช้า
ในการตระเตรียมทางไปสู่พระนิพพาน

เอตมตฺถวสํ ญตฺวา ปณฺฑิโต สีลสํวุโต
นิพฺพานคมนํ มคฺคํ ขิปฺปเมว วิโสธเย
...

คนย่อมรักผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทรรศนะ
ตั้งอยู่ในธรรม พูดสัตย์จริง ทำหน้าที่ของตนสมบูรณ์

สีลทสฺสนสมฺปนฺนํ ธมฺมฏฐํ สจฺจวาทินํ
อตฺตโน กมฺมกุพฺพานํ ตํ ชโน กุรุเต ปิยํ
...

กฤษณาหรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลสิประเสริฐนัก หอมฟุ้งกระทั้งถึงทวยเทพยดา

อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ ยายํ ตครจนฺทนี
โย จ สีลวตํ คนฺโธ วาติ เทเวสุ อุตฺตโม
...

มารย่อมค้นไม่พบวิถีทางของท่านผู้ทรงศีล
ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสเพราะรู้ชอบ

เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินํ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ
...

ธรรมดาม้าดี เมื่อถูกลงแส้ครั้งหนึ่งก็ย่อมสำนึก (ความผิดครั้งแรก)
และพยายาม (วิ่งให้เร็ว)พวกเธอก็จงทำตนเช่นนั้น อาศัยศรัทธา, ศีล, ความเพียร, สมาธิ, การวินิจฉัยธรรม,ความสมบูรณ์ด้วยความรู้และการปฏิบัติ,
มีสติสมบูรณ์ พวกเธอจักละทุกข์ได้ไม่น้อยเลย

อสฺโส ยถา ภทฺโร กสานิวิฏโฐ
อาตาปิโน สํเวคิโน ภวาถ
สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ
สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ
สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปฏิสฺสตา
ปหิสฺสถ ทุกฺขมิทํ อนปฺปกํ
...

นักปราชญ์พิจารณารอบคอบแล้วจึงสรรเสริญผู้ใด
ผู้ดำเนินชีวิตหาที่ติมิได้ ฉลาด สมบูรณ์ด้วยปัญญาและศีล
ผู้นั้นเปรียบเสมือนแท่งทองบริสุทธิ์ ใครเล่าจะตำหนิเขาได้
คนเช่นนี้แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญ

ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ อนุวิจฺจ สุเว สุเว
อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปัญฺญาสีลสมาหิตํ
นิกฺขํ ซมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต
...

เพราะฉะนั้นจึงควรประพฤติตามผู้เป็นปราชญ์
ผู้เฉียบแหลม ศึกษาเล่าเรียนมาก มี ศีลาจารวัตร
เรียบร้อย เป็นพระอริยะ เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดี
เหมือนพระจันทร์ไปตามทางของกลุ่มนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย

ตสฺมา หิ ธีรญฺจ ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํ ว จนฺทิมา

ที่มา http://www.dhammajak.net/book-dhammaraksa/-18.html