สงเคราะห์โลงศพฟรี สงเคราะห์เผาศพฟรี สงเคราะห์ลอยอังคารฟรี แก่ผู้ยากไร้ไร้ญาติ


นิทานธรรมะ / นิทานเซ็น

 

"การอ่านนิทานธรรมะ ได้รับ
ความสนุกสนานบันเทิงไปในตัว
ทำให้การเรียนธรรมะ เป็นสิ่งที่
ไม่น่าเบื่อ และถ้าอ่านอย่างถูกวิธี
ย่อมเสียเวลาน้อย แต่กลับเข้าใจ
ได้อย่างลึกซึ้ง..."

บางตอน จากคำปรารภ ใน หนังสือ นิทานเซ็น เล่าโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

นิทานเซ็น มหรสพทางวิญญาณเพื่อจริยธรรม เล่าโดย.. ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ณ หอประชุมคุรุสภา พุทธศักราช ๒๕๐๕ พิมพ์โดย ธรรมสภา (ข้อมูลจาก http://www.buddhadasa.com/)


นิทานเซ็น เรื่องตัวรู้ นิทานเซ็น เรื่องตัวรู้
ครั้งหนึ่ง ท่านเว่ยหล่างไปพักค้างแรมที่บ้านหลังหนึ่ง ขณะที่กำลังจะนอนพักผ่อนในช่วงบ่าย ได้ยินเสียงคนกำลังสวดมนต์ เลยลุกขึ้นไปถามผู้นั้นว่า

ซากไม้ ซากไม้
มีคุณคุณยายอุบาสิกาท่านหนึ่ง เป็นโยมอุปัฏฐากภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเวลานานถึง 20 ปีแล้ว ทุกวันจะให้หญิงสาวผู้หนึ่งเป็นผู้นำ ภัตตาหารไปถวาย

เสียงกระเบื้องกระทบไผ่ เสียงกระเบื้องกระทบไผ่
ภิกษุรูปหนึ่งขณะเมื่อศึกษาธรรมอยู่กับพระอาจารย์องค์แรก แม้จะเพียรพยายามศึกษาขนาดไหน ก็ยังจับจุดสำคัญไม่ได้ หลังจากสิ้นบุญพระอาจารย์ จึงเดินทางไปศึกษากับพระอาจารย์อีกรูปหนึ่ง

ไม่พึ่งพิงตัวอักษร ไม่พึ่งพิงตัวอักษร
มีอำมาตย์ท่านหนึ่งในราชวงศ์ถัง นอกจากเป็นผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังปฏิบัติธรรมในแนวนิกายเซน ท่านสนใจและชอบค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับนิกายเซน และยังชอบจดบันทึกเรื่องราวการปฏิบัติธรรมของตัวเองไว้ แล้วรวบรวมทำเป็นเล่ม

นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส  เรื่อง พ่อ-ลูก นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง พ่อ-ลูก
พ่อ รู้สึกขบขัน แกมสงสาร อย่างไม่น้อย ที่เห็น ลูกชายคนโต ดีใจ จนเนื้อเต้น ในการที่ ได้รับ "ป็ากเก้อร ๕๑" ด้ามหนึ่ง เป็น ของขวัญ วันเกิด และ เห็น ลูกชายคนเล็ก ดีใจ มากไปกว่านั้น อีกหลายเท่า ในการได้รับ ลูกกวาด ของนอก กระป๋องเล็กๆ กระป๋องหนึ่ง เป็นของขวัญ ในโอกาส เดียวกัน

เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก
ที่เอามา เล่านิทาน ให้ฟัง นี้เอง ควรจะทราบ ถึงคำว่า เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก ด้วยจะง่าย ในการเข้าใจ เซ็นเนื้อ เซ็นกระดูก หมายความว่า ธรรมะ ชั้นที่เป็นเนื้อ เป็นกระดูก ยังไม่ถึง เยื่อในกระดูก ธรรมะชั้นลึกจริงๆ จัดเป็น ชั้นเยื่อในกระดูก นี่เราจะเล่ากัน แต่เรื่อง ชั้นเนื้อ และชั้นกระดูก หมายความว่า ในนั้นมันมี ชั้นเยื่อในกระดูก อีกทีหนึ่ง

ยิ่งให้เร็ว นั้นแหละ จะยิ่งช้า ยิ่งให้เร็ว นั้นแหละ จะยิ่งช้า
จะมีประโยชน์มาก สำหรับ ครูบาอาจารย์ อาตมา จึงเลือกนำมาเล่า ให้ฟัง "ยิ่งให้เร็ว นั่นแหละ จะยิ่งช้า" เรื่องนี้ ถึงท่านจะ ไม่เรียก ตนเองว่า ครู ก็ตาม ก็ควรจะสนใจฟัง ในฐานะที่ว่า จะเป็นปัจจัย เกื้อกูล แก่การ เข้าใจธรรม และปฏิบัติธรรม เรื่องเล่าว่า มีหนุ่มคนหนึ่ง เขาอยากจะเป็น นักฟันดาบ ที่เก่งกาจ เขาไปหา อาจารย์สอนฟันดาบ

ใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปแล้ว ใกล้พระพุทธเจ้าเข้าไปแล้ว
นี้ลองฟังให้ดี จะได้รู้ว่า เราใกล้ พระพุทธเจ้า เข้าไปแล้ว หรือไม่ นักศึกษา ในมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง ได้ไปเยี่ยม ธยานาจารย์ คือ อาจารย์แห่ง นิกายเซ็น แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กาซาน เพราะ นิสิตคนนั้น เขาแตกฉาน ในการศึกษา เขาจึงถาม อาจารย์กาซานว่า เคยอ่าน คริสเตียน ไบเบิล ไหม ท่านอาจารย์ กาซาน ซึ่งเป็นพระเถื่อน อย่งพระสมถะ นี้จะเคยอ่าน ไบเบิล ได้อย่างไร จึงตอบว่า เปล่า ช่วยอ่าน ให้ฉันฟังที

พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ในนครโตเกียว สมัยศักราชเมจิ มีอาจารย์ที่เก่งๆ อยู่สองคน คนหนึ่ง ชื่อ อันโช เป็นครูบาอาจารย์ ในนิกาย ชินงอน คนนี้ ไม่ดื่มเลย อีกคนหนึ่ง ชื่อ แตนแซน หรือ ตานซาน ก็แล้วแต่จะเรียก เป็น ครูบาอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยด้วย ไม่เคยถือศีลเลย จึงดื่มจัด หรือ ละโมบ ในการบริโภค

ช่างไม่เมตตาเสียเลย ช่างไม่เมตตาเสียเลย
ให้ชื่อเรื่องว่า "ช่างไม่เมตตาเสียเลย" อาตมา แปลออกมา ตามตัว ว่า "ช่างไม่เมตตาเสียเลย" เขาเล่าว่า ในประเทศจีน ในสมัยที่ นิกายเซ็น กำลังรุ่งเรืองมาก อีกเหมือนกัน ใครๆ ก็นิยมนับถือภิกษุ ในนิกายเซ็นนี้

ความเชื่อฟัง ความเชื่อฟัง
เรื่อง "ความเชื่อฟัง" ธฺยานาจารย์ ชื่อ เบ็งกะอี เป็นผู้มีชื่อเสียง ในการเทศนาธรรม คนที่มาฟังท่านนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ ในวงของ พวกนิกายเซ็น พวกนิกายอื่น หรือคนสังคมอื่น ก็มาฟังกัน ชนชั้นไหนๆ ก็ยังมาฟัง เพราะว่า ท่านไม่ได้เอา ถ้อยคำในพระคัมภีร์ หรือในหนังสือ หรือ ในพระไตรปิฎก มาพูด แต่ว่าคำพูด ทุกคำนั้น มันหลั่งไหล ออกมาจาก ความรู้สึกในใจ

ถ้าจะรักก็จงรักอย่างเปิดเผย ถ้าจะรักก็จงรักอย่างเปิดเผย
เรื่อง "If love, love openly" ถ้าจะรัก ก็จงรักอย่างเปิดเผย. ในวัดนิกาย เซ็น อีกเหมือนกัน มีภิกษุ อยู่หลายสิบรูป และมี นักบวชผู้หญิง ที่เรียกว่า nun อยู่คนหนึ่ง ชื่อ เอฉุ่น รวมอยู่ด้วย เอฉุ่น เป็นหญิง ที่สวยมาก แม้จะเอา ผมออก เสียแล้ว แม้จะใช้ เครื่องนุ่งห่ม ของนักบวช ที่ปอนมาก ก็ยังสวย อย่างยิ่ง อยู่นั่นเอง และทำความ วุ่นวาย

อย่างนั้นหรือ อย่างนั้นหรือ
ชื่อเรื่อง "Is that so?" ท่านลองแปลเอาเองว่า อย่างไรมัน ก็คล้ายๆ กับว่า "อย่างนั้นหรือ?" นิทานที่สามนี้ เล่าว่า ณ สำนักเซ็น ของอาจารย์ เฮ็กกูอิน ซึ่งเป็นวัดที่เลื่องลือมาก เป็นเหมือนกับว่า เป็นที่พึ่งของหมู่บ้าน ที่ร้านชำใกล้ๆ วัดนั้น มีหญิงสาวสวย คนหนึ่ง เป็นลูกเจ้าของร้าน

เพชรที่หาได้จากโคลนในถิ่นสลัม เพชรที่หาได้จากโคลนในถิ่นสลัม
เรื่อง เพชรที่หาได้จากโคลนในถิ่นสลัม อาตมา ต้องขอใช้คำอย่างนี้ เพราะไม่ทราบว่า จะใช้คำอย่างไรดี ที่จะให้รวดเร็ว และสั้นๆ ท่านจะรู้สึกอย่างไร ก็ตามใจ ที่จะต้อง ใช้คำอย่างนี้ "เพชรที่หาพบจากโคลนในถิ่นสลัม"

น้ำชาล้นถ้วย น้ำชาล้นถ้วย
เรื่องที่หนึ่ง ซึ่งไม่อยากจะเว้นเสีย ทั้งที่ เคยเอ่ยถึงแล้ว วันก่อน คือ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย คือว่า อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง เป็น โปรเฟสเซอร์ ที่มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ ไปหา อาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษา พระพุทธศาสนา อย่างเซ็น